พาลาทีน คือ อะไร

พาลาทีน คือ ไอโซมอลทูโลส (Isomaltulose) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างคล้ายกับน้ำตาลทรายมากที่สุด แตกต่างตรงที่ต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิกชนิดแอลฟา-1,6 (1,6 glycosidic bond) ส่งผลให้ร่างกายใช้เวลาย่อยและดูดซึมนานกว่าน้ำตาลทรายถึง 4 เท่า ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ขึ้นสูงอย่างรวดเร็วหลังรับประทาน [1] พาลาทีน ถูกย่อยและดูดซึมหมดในลำไส้เล็ก ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบขับถ่าย เช่น อาการปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น [2]

เอกสารอ้างอิง

1. Sangeetha Shyam, Amutha Ramadas, Sui Kiat Chang, Isomaltulose: Recent evidence for health benefits, Journal of Functional Foods, Volume 48, 2018, Pages 173-178.

2. TAMURA, A., SHIOMI, T., TAMAKI, N., SHIGEMATSU, N., TOMITA, F., & HARA, H. (2004). Comparative Effect of Repeated Ingestion of Difructose Anhydride III and Palatinose on the Induction of Gastrointestinal Symptoms in Humans. Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry, 68(9), 1882–1887

โอลิโกไลท์ คือ อะไร

โอลิโกไลท์ คือ พรีไบโอติกไซรัป ที่มีส่วนประกอบของฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์สายสั้น (Short Chain Fructooligosaccharide ; sc-FOS) ซึ่งจัดเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber) ที่พบได้ทั่วไปในพืชผักและผลไม้ อาทิเช่น กล้วย มะเขือเทศ กระเทียม หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง แก่นตะวัน หัวชิโครี่ และน้ำอ้อย เป็นต้น [1]

โอลิโกไลท์ ผลิตจากอ้อยธรรมชาติ อยู่ในรูปของเหลวใสสีเหลืองทอง รสชาติหวานอ่อน ๆ มีส่วนประกอบของฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ โอลิโกไลท์จึงเป็นไซรัปที่ให้พลังงานน้อยกว่าน้ำเชื่อมทั่วไปครึ่งหนึ่ง และช่วยปรับสมดุลการขับถ่าย ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมอาหารมีการนำฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์เติมลงในผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายชนิด ด้วยคุณสมบัติการเป็นของเหลว ละลายน้ำได้ดี และมีรสชาติหวานคล้ายน้ำตาล จึงถูกใช้เป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำเชื่อม หรือน้ำผึ้งที่มีเพียงความหวานแต่ไม่มีประโยชน์ด้านการเป็นพรีไบโอติกส์ที่ดีต่อร่างกาย โอลิโกไลท์ ใช้เติมลงในผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่ม ที่มุ่งเน้นประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านการเป็นพรีไบโอติกส์หรืออาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ [2] อีกทั้งยังให้รสชาติที่หวานอร่อย

เอกสารอ้างอิง

1. Campbell, J. M.; et al. (1997). "Selected Fructooligosaccharide (1-Kestose, Nystose, and 1-β- Fructofuranosylnystose) Composition of Foods and Feeds". Journal of Agricultural and Food Chemistry. 45(8): 3076–3082.

2. Chaito, C. (2017). Fructooligosaccharides in food and commercial food products in Thailand. Asia-Pacific Journal of Science and Technology, 19, 430-440.


© 2024 - EATWELL Application